วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

"มารู้จักกับตำบลคุ้งน้ำวน"

ตำบลคุ้งน้ำวน เป็นตำบลเก่าแก่ดั้งเดิมตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองราชบุรี ซึ่งได้เล่ากันต่อ ๆ มาว่าที่มีชื่อเรียกดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก แม่น้ำแม่กลองที่ไหลผ่านตำบลบริเวณที่เว้าริมตลิ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “คุ้ง” สายน้ำที่ไหลเข้าไปในบริเวณนั้นจะมีลักษณะหมุนวนตามคุ้งต่าง ๆ ก่อนจะไหลออกและผ่านไป จึงตั้งชื่อตำบลว่า “คุ้งน้ำวน” โดยใช้เรียกชื่อลักษณะตามธรรมชาติให้สร้างขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ และเป็นรูปตามลักษณะมองเห็นได้ในปัจจุบัน คุ้งน้ำวนจะอยู่บริเวณใต้วัดพิกุลเรียงและอยู่บริเวณเหนือวัดราชคามขึ้นไป
  • ตำบล คุ้งน้ำวนตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2454 (รศ.117) โดยมีราษฎรที่เรียกตัวเองว่าเป็นกลุ่ม เขมรลาวเดิม ซึ่งประวัติเขมรลาวเดิมมาจากคนเขมรและลาวที่อพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยเป็นเวลา นานจนเป็นคนไทยโดยปริยาย โดยบุกป่าฝ่าดงเข้ามาจับจองหาที่ทำกินจนมาจับจองถางป่าทำไร่บริเวณคุ้งน้ำวน โดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูกพืช
  • .....ตำบลคุ้งน้ำวนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองราชบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรีประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นร่องสวน ติดแม่น้ำแม่กลอง มีพื้นที่ 9,375 ไร่
  • .....พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลคุ้งน้ำเป็นเป็นพื้นที่เกษตร เป็นดินร่วนปนดินเหนียว อุ้มน้ำได้ดี ในฤดูแล้งอากาศค่อนข้างร้อน แต่เนื่องจากมีคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลอง ทำให้มีน้ำเพียงพอในการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ทั้งทำสวนไม้ยืนต้น โดยมีไม้มะพร้าวเป็นพืชหลัก รองลงมา คือ กล้วย มะม่วง ชมพู่ มะละกอ มีการทำสวนไม้ล้มลุกบางส่วน เช่น กล้วยไม้ แก้วมังกร นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงปลาในกระชังและการทำผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว รายได้ของประชากรอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การผลิตกระบะมะพร้าวสำหรับปลูกกล้วยไม้ การผลิตกระเป๋าหนัง การทำมะพร้าวขาว เป็นต้น

"วัดคุ้งกระถิน"

วัด คุ้งกระถิน ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลคุ้งน้ำวน เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าก่อสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2409 มีโบสถ์สร้างจากไม้สักเครื่อบนปนไม้สำโรง ก่อผนังอิฐดินเผาตามฝีมือช่างชาวบ้าน แต่มีสภาพทรุดโทรมมากในปัจจุบัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนกุฏิมีรูปหล่อหลวงพ่อม่วง อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกแห่งนี้เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ในทางเมตตา บนบานศาลกล่าว ประชาชนทั่วไปมักมาสักการะบูชา และมีพระเครื่องที่นักสะสมต่างแสวงหาเพราะเชื่อกันว่ามีคุณทางคงกระพันชาตรี

วัดคุ้งกระถิน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง วัดเก่าแก่ที่มีอุโบสถวิหาร สร้างโดยได้รับมีอิทธิพลรูปแบบศิลปะจีนเข้ามาปะปนอยู่มาก โดยอุโบสถที่วัดแห่งนี้มีหน้าบันสวยงามลักษณะสถาปัตยกรรมมีอิทธิพลจีน เช่นเดียวกับวัด คุ้งน้ำวน แต่มีรายละเอียดต่างไปที่หน้าบันประดับเป็นแจกันดอกไม้มีมังกรขนาบข้าง ลักษณะเช่นนี้จะพบเห็นได้ตามลวดลายที่ประดับที่สุสานชาวจีนที่นับถือคริสต์ ศาสนาที่สุสานบางนกแขวก ตามประวัติเชื่อว่าเป็นช่างชาวจีนจากแม่กลองมาซ่อมแซม มีจารึก ปีที่ซ่อมแซม พ.ศ. 2469 ที่เหนือประตูอุโบสถ ส่วนอิทธิพลรูปแบบศิลปะจีนจะไม่ปรากฏว่า มีช่อฟ้าใบระกา ที่หน้าบันนั้นก็เป็นลายปูนปั้นพันธุ์พฤกษา ประดับเครื่องถ้วยจีนและศิลปะสถาปัตยกรรมก่อสร้างอุโบสถวัดคุ้งกระถิน ก็นับเป็นสถาปัตยกรรมการก่อสร้างที่มีอิทธิพลศิลปะจีน ซึ่งจะปรากฎพบตามวัดหลายแห่งตลอดลำน้ำแม่กลองและตามวัดริมคลองหลายแห่งใน ย่านฝั่งธนบุรีอีกด้วย

"วัดท่าสุวรรณ์"



วัดท่าสุวรรณ ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลคุ้งน้ำวน ประวัติการตั้งวัดท่าสุวรรณพอจักทราบได้จากหลักฐานรายงานขอรับพระราชทานวิสุ งคามสีมา วัดท่าสุวรรณเดิมชื่อ "วัดท่าทอง" ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2301 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ครองราชสมบัติ และได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2340 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ส่วนประวัติรานละเอียดผู้สร้างวัดและความเป็นมาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด โดยเป็นวัดที่มีอุโบสถ (หลังเก่า) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐฉาบปูน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย ภายนอกมีเสมาเดี่ยวทำจากหินทรายสีแดงขนาดเล็ก เจดีย์มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน ย่อมุึมไม้สิบสองมีกำแพงล้อมรอบ
......ปัจจุบันวัดนี้ก็ได้รับการบูรณะเพิ่มขึ้นอีกมากแล้ว จึงได้มีการสร้างพระอุโบสถใหม่ขึ้นมาอีกหลัง แต่ก็ยังคงรักษาโบสถ์และเจดีย์โบราณนี้ไว้จนปัจจุบัน วัดนี้เดิมทีก็อยู่ใกล้แม่น้ำแม่กลองอยู่แล้ว ทำให้บรรยากาศร่มรื่น น่าไปเที่ยวมาก แต่วัดดนี้ยังมีวจุดเด่นอีกอย่างที่สำคัญ คือที่ด้านตรงข้ามของวัด ข้ามไปอีกฝากของถนนจะรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมองค์สีทองอร่ามองค์ใหญ่ ลักษณะสูงสง่า เป็นสีทองทั้งองค์ รายล้อมด้วยเทพปกครอง 2 องค์ และมังกรอีก 2 ตัวครับ สวยงามมาก

"วัดเหนือวน"

วัด เหนือวน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วัดเหนือวนเป็นวัดธรรมยุต เดิมชื่อ "วัดญาติปรีดาสัทธาอุดม" สำเร็จการก่อสร้างเป็นวัดขึ้นได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องชาวคุ้งน้ำ วน ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส หวังปลูกฝังความวัฒนาถาวรของพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ โดยมีชาวบ้านพร้อมใจกันสละที่ดินซึ่งต่างก็มีอยู่ในครอบครองของตนเองบ้าง ซื้อจากผู้อื่นบ้าง อันมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นผืนเดียวกัน รวมเป็นเนื้อที่ 7 ไร่เศษ เพื่อจะถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์ แต่เนื้อที่เต็มไปด้วยป่าไผ่ และต้นไม้เบญจพรรณใหญ่น้อย พี่น้องชาวคุ้งน้ำวนจึงหาเวลาว่างจากการประกอบอาชีพไปถากถาง ขุดถาก ตัดทิ้ง และสุมไฟเผาให้โล่เตียน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในรางวงศ์จักรี
.... เมื่อได้ถากถางที่ซึ่งจะถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์นั้นเป็นเวลานานเกือบขวบปีก็ โล่เตียน จึงได้พากันลงทุนลงแรงสร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่ง หลังจากนั้น เมื่อเข้าปี พ.ศ. 2452 จึงได้เริ่มการก่อสร้างอุโบสถถาวร ทำการโบกปูนหุ้มอิฐเป็นพระอุโบสถถาวรต่อไป โดยการชักชวนลูกวัดทั้งพระเณร รวมทั้งประชาชนชาวบ้านให้ทำการเผาอิฐ ไสไม้เพื่อใช้ในการก่อสร้าง และขณะที่กำลังเริ่มสร้างพระอุโบสถขึ้นนั้น คล้ายเป็นศุภนิมิตรอันดียิ่งของวัดเหนือวน เลยให้ประจวบเหมาะกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้่าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาส ณ วัดสัตตนารถปริวัตร กำนัดรอดทราบความจึงเข้าเฝ้ากรมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และได้รับพระราชทานอนุญาตวิสุงคามสีมา ภายในเวลาเพียง 14 วันเท่านั้น

"วัดโคกพิกุลเรียง"

วัดโคกพิกุลเรียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่เรียกว่าวัดโคกพิกุลเีัรียงเพราะมีโคกและมีต้นพิกุลปลูกเรียงกันจำนวน 3 ต้น ซึ่งชาวบ้านได้เรียกกันตามภูมิประเทศดังกล่าว มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 28 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา อายุของวัดประมาณ 100 ปีเศษ

"วัดราชคาม"

วัดราชคาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตรงที่วัดราชคามที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้เดิมทีเป็นจวนที่อยู่และเป็นที่ว่า ความของพระยาราชเดชะ ต่อมีปี พ.ศ. 2409 สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ได้มาขุดคลองดำเนินวะดวก มีบัญชาให้ท่านพระยาราชเดชะไปช่วยทำการขุดคลองดำเนินสะดวก ก่อนที่ท่านพระยาราชเดชะจะย้ายไปช่วยขุดคลองได้มอบจวนที่อยู่ให้เป็นที่ สร้างวัด โดยมีชาวบ้านที่อยู่ในระแวกนั้น ได้ทำการสร้างวัดโดยใช้ชื่อว่า "วัดราชคาม" ตามนามท่านพระยาราชเดชะ บริเวณวัดที่ตั้งติดริมแม่น้ำแม่กลอง โดยเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่ออู่ทอง อดีตพระประธานอุโบสถเก่า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและชาวบ้านได้สักการะบูชาตามวิถีประเพณี

"ศูนย์ปฏิบัติธรรมผาสุกวนิช"

ศูนย์ปฏิบัติธรรมผาสุกวนิช ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เดิมเป็นที่ดินของคุณนิภา ผาสุกวนิช ส่วนปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นสถานที่จัดการอบรมนักเรียน นักศึกษา เยาวชน บุคคลทั่วไป และเป็นที่ปฏิบัติธรรมของเหล่ากัลยาณมิตรในจังหวัดราชบุรี โดยมีคุณนิภา ผาสุกวนิช ผู้เป็นเจ้าของได้ถวายที่ดินผืนนี้แด่พระเทพกิติปัญญาคุณ (หลวงพ่อกิติวุฒโฑ) โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้หลวงพ่อสร้างเป็นสถานที่อบรมธรรมปฏิบัติ หลวงพ่อกิติวุฒโฑได้นำที่ดินผืนนี้เข้าในมูลนิธิธรรมมหาธาตุ ในสมัยที่ท่านเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ

"วัดจันทคาม"

วัด จันทคาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ประกาศตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2490 ในเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่เศษ
....เดิมชื่อ "วัดจันทน์ท่าข้าม" เพราะที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองมีต้นจันทน์ขนาดใหญ่ต้นหนึ่ง และที่ท่าน้ำแห่งนี้แห่งนี้ใช้เป็นที่ข้ามวัวของชาวนาเพื่อไปยังฝั่งตะวัน ออกของแม่น้ำแม่กลอง เดิมทีเดียวเขตตำบลคุ้งน้ำวนนี้เป็นที่นามาก่อน และเปลี่ยนแปลงมาทำสวนเตียน และสุดท้ายเปลี่ยนมาทำสวนปลูกมะพร้าว มะม่วง กล้วย จนเป็นหลักจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อมีการก่อตั้งวัดขึ้นครั้งแรกเรียกว่า "วัดจันทน์ท่าข้าม" ภายหลังชื่อวัดนี้ได้เพี้ยนไปเป็น "วัดจันทคาม" จนกระทั่งทุกวันนี้
ยินดีต้อนรับสู่ เวปบล็อก นู๋กบ...